อิสระในการวิ่ง (Free to Run)
เกิดเมื่อวันที่ 7 กันยายน 1965 ประเทศเยอรมัน (ตะวันออก) ชนะเลิศวิ่งมาราธอนที่ บอสตัน นิวยอร์ค และเบอร์ลิน นักวิ่งมาราธอนหญิงที่เร็วที่สุดอันดับ 3 2:21:45
การวิ่งที่ยากที่สุดของUta Pippig ไม่ใช่การแข่งขันโอลิมปิก หรือการชิงแชมป์โลก 10,000 เมตร หรือการแข่งมาราธอนที่นิวยอร์ค หรือบอสตัน หรือการแข่งขันใดๆ ที่เธอเคยชนะ แต่มันคือการวิ่งที่เริ่มต้นในเบอร์ลินตะวันออกตอนเช้าของต้นมกราคมในปี 1990 และมาจบในเบอร์ลินตะวันตกและมีอิสรภาพ นักวิ่งส่วนใหญ่มักกังวลกับกำแพงที่มองไม่เห็นที่ระยะ 20 ไมล์ของการแข่งขันมาราธอน แต่กำแพงที่ Pippig ต้องเผชิญมีความสูง 15 ฟุต ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก และด้านบนคลุมด้วยลวดหนาม มีหอคอยไว้เฝ้าดู มีสุนัขยาม และมีปืนกล
กำแพงเบอร์ลินสร้างขึ้นในปี1961 เป็นสัญญลักษณ์ของการแบ่งแยกประเทศเยอรมันและการแบ่งแยกโลก ขณะที่เยอรมันตะวันตกเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันตะวันออกก็เข้าสู่ระบบสังคมนิยมและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก อย่างหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ของเยอรมันตะวันออกคือการจัดตั้งระบบการกีฬาที่ทำให้สามารถแข่งขันกับทุกประเทศในโลกได้ Pippig คือดาวดวงหนึ่งที่เกิดจากระบบนั้น ซึ่งช่วยเธอพัฒนาไปสู่นักวิ่งมาราธอนที่ดีที่สุดของโลก แต่เมื่อไรก็ตามที่เธอต้องการแข่งขันกับนักกีฬาเก่งๆ จากทางตะวันตก Uta ต้องพบกับกำแพงของระบบราชการ เธอถูกขังเหมือนอยู่ใน “คุกรูปแบบหนึ่ง” ที่ไม่อนุญาตให้เดินทาง แข่งขัน หรือมีการถูกติดตามดูการฝึกซ้อมที่เธอและโค้ชต้องการ Pippig เป็นนักวิ่งระดับแนวหน้าของเยอรมันตะวันออกและสมาชิกของกองทัพเยอรมันตะวันออกผ่านทางชมรมกีฬาของกองทัพของเธอในเมือง Potsdam ซึ่งเผชิญความเสี่ยงอย่างมากเมื่อเธอหนีจากเบอร์ลินตะวันออก ถ้าถูกจับได้เธอจะเป็นการหนีทหาร ภายหลังการลื้อกำแพงเบอร์ลิน 2 เดือนแรกๆ เธอและ Dieter Hogen ผู้เป็นทั้งโค้ชและแฟนของเธอ ตัดสินใจวิ่งไปสู่ความมีอิสรภาพ Uta และ Dieter เก็บกระเป๋าเดินทาง 3 ใบ ใส่ไว้ที่หลังรถคันเล็ก และขับออกมาในตอนเช้าที่มีฝน อีกฟากของกำแพงมีฝนด้วย แต่ยังไงก็คงเป็นฝนที่ใจดีและสุภาพกว่า เมื่อเธอมาถึงเยอรมันตะวันตก Uta ลงจากรถและปล่อยให้ฝนตกใส่หน้าของเธอ เธอมีอิสระเป็นครั้งแรกในชีวิตเมื่ออายุ 24 ปี
เมื่อมีอิสรภาพจากสมาพันธ์การกีฬาของเยอรมันตะวันออกPippig ได้ผลิดอกไปเป็นดาราที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการวิ่งหญิง ทำสถิติเวลาได้ดีเยี่ยม และชนะการแข่งขัน ซึ่งเป็นพลังอันหนึ่งที่นำชีวิตใหม่ไปสู่วงการวิ่งหญิง Uta เล่าว่า “ฉันมีความฝันอยู่ 3 อย่างในชีวิต การได้มายังตะวันตกเป็นหนึ่งในนั้น”
การวิ่งของPippig ได้เข้าสู่อิสรภาพที่ค้นพบใหม่ เช่นเดียวกับที่เธอได้ฝึกซ้อมและเข้าแข่งขันด้วยจุดมุ่งหมายที่ไม่ธรรมดา คือมีเป้าหมายไปสู่การเป็นนักวิ่งที่ดีที่สุดคนหนึ่ง ในขณะที่วงการวิ่งถนนกำลังรอคอยนักวิ่งหน้าใหม่ที่โผล่ออกมาและแทน 4 นักวิ่งมาราธอนหญิงที่โดดเด่น ได้แก่ Rosa Mota, Ingrid Kristiansen, Joan Benoit Samuelson และ Grete Waitz Pippig ได้พุ่งเข้าสู่วงการเหมือนลมที่ช่างสดชื่น หรือนักวิ่งหญิงรุ่นใหม่ที่สำคัญคนหนึ่ง Pippig คือนักวิ่งมาราธอนที่เร็วที่สุดในยุคของเธอ ทำเวลา 2:26 เมื่ออายุ 26 ปีในปี 1992 เธอวิ่งที่บอสตันมาราธอนในปี 1994 ด้วยเวลา 2:21:45 ซึ่งเป็นเวลามาราธอนที่ดีที่สุดอันดับ 3 และยังคงเป็นช่วงปีที่ดีที่สุดของเธอ ทำให้เธอมุ่งหวังเป็นผู้หญิงคนแรกที่จะสามารถทะลุกำแพงเวลา 2:20 ได้ในที่สุด
การสร้างการกีฬา
Pippig เกิดที่ Leipzig ประเทศเยอรมันเมื่อวันที่ 7 กันยายน 1965 ตอนนั้น Leipzig ยังคงเป็นของเยอรมันตะวันออก เธออยู่ที่นั่นจนอายุ 4 ขวบ พ่อแม่ของเธอซึ่งเป็นหมอทั้งคู่ต้องเปลี่ยนสถานที่ทำงานจึงย้ายมาอยู่ที่ชนบทนอกกรุงเบอร์ลิน พร้อมกับ Uta และน้องชายของเธอ Uta บอกว่า “มันเป็นที่ที่ดีมากสำหรับการเติบโตขึ้น มีป่าไม่และทะเลสาบมากมาย” Pippig ถูกเลี้ยงดูในที่เงียบสงบ ใช้เวลาของเธอในการอ่านหนังสือและเล่นกับเพื่อนๆ บุคคลผู้มีอิทธิพลยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเธอก็คือพ่อแม่ของเธอ ผู้ซึ่งหล่อหลอมให้เธอรักการเรียนรู้และมีความสามารถดีเยี่ยมสำหรับการทำงานยากๆ ตลอดหลายศตวรรษที่ชาวเยอรมันมีชื่อเสียงเป็นคนที่ทำงานหนักอย่างขยันขันแข็ง Pippig ก็เจริญรอยตามตามวิถีทางของเธอ เพื่อจะเป็นนักวิ่งระยะไกลหญิงแนวหน้าของทศวรรษ (19) 90 และเป็นแบบอย่างแก่นักวิ่งหญิงรุ่นใหม่ในอนาคต
Pippigได้เข้าฝึกกีฬาต่างๆ เช่นเดียวกับเด็กๆ ชาวเยอรมันตะวันออกส่วนใหญ่ ผ่านทางชมรมกีฬาในเมืองของเธอ เธอเริ่มฝึกยิมนาสติกเมื่ออายุ 10 ขวบ ตอนอายุ 13 ปี Uta เข้าร่วมชมรมกีฬาท้องถิ่นในเมือง Petershagen ที่เธออยู่ หยุดฝึกยิมนาสติกและหันมาเริ่มฝึกวิ่ง (แม้เธอจะไม่ได้ฝึกซ้อมอย่างจริงจังนัก) “มันสนุกดี เราเล่นเกมส์หลายๆ อย่างด้วย เช่น ฟุตบอล ซึ่งเป็นรูปแบบที่ฉันชอบ มันเป็นช่วงเวลาที่ดี เพราะฉันเติบโตแบบไม่จริงจังไปกับกีฬาประเภทลู่และลานมากจนเกินไป มันก็เพื่อความสนุก”
ชมรมท้องถิ่นเล็กๆเหล่านั้น คือโครงสร้างหลักของระบบการกีฬาของประเทศเยอรมันตะวันออก มันเป็นระบบที่ดี Hogen โค้ชชาวเยอรมันระดับแนวหน้าได้กล่าวไว้ “เพราะในอดีตเยอรมันตะวันออก เด็กทุกคนเล่นกีฬา”
กีฬาเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นและทุกคนให้ความสนใจ คุณจะเห็นได้ว่า บางคนที่เก่งกีฬาจะมีโอกาสที่จะทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้นได้ ด้วยการไปประเทศอื่น คุณสามารถได้รับสิ่งดีๆ หลายอย่าง และการเดินทาง นั่นคือเหตุผลที่เด็กจำนวนมากเล่นกีฬา ไม่ใช่แค่ประเภทลู่และลานเท่านั้น แต่ทุกประเภทกีฬาในโอลิมปิก
ระบบดังกล่าวใช้ได้ดีประเทศเยอรมันตะวันออกคือหนึ่งในมหาอำนาจทางการกีฬามาตั้งแต่โอลิมปิกปี 1956 มาจนท้ายสุดในโอลิมปิกปี 1988 ที่สามารถคว้าจำนวนเหรียญทองได้เป็นอันดับ 3 รองจากสหภาพโซเวียตและสหรัฐ
เด็กๆถูกจัดให้เล่นกีฬาตามลักษณะรูปร่าง โครงสร้าง หรือทักษะด้านกีฬา สำหรับกีฬาบางประเภทอย่างยิมนาสติกหรือสเก็ตน้ำแข็ง การเลือกสรรจะทำตั้งแต่อายุน้อยๆ Hogen อธิบายว่า
เขาอาจบอกว่า“ตกลง คนนี้เร็ว ให้ไปฝึกสปริ้นท์ คนนี้สูง ให้ไปฝึกพายเรือ หรืออะไรก็ตาม เด็กๆ ส่วนใหญ่จะถูกจัดให้เล่นกีฬา นั่นคือเหตุผลที่ประเทศเยอรมันตะวันออกมีแชมป์จำนวนมาก มันเป็นเหตุผลที่สำคัญที่สุด อีกทั้งการฝึกซ้อมที่หนักและจริงจัง มีโค้ชเต็มเวลาจำนวนมากมาย และด้วยระบบที่ดีเยี่ยมในการคัดเลือกเด็กให้เหมาะกับชนิดกีฬา
ดูแปลกสักหน่อยที่Uta ไม่ถูกเลือกให้ฝึกวิ่งตั้งแต่ต้น เธอเริ่มจากฝึกกีฬายิมนาสติก เธออาจจะมีอนาคตในกีฬาประเภทนี้ก็ได้ “แต่แล้วฉันก็สูงเกินไป และอีกอย่าง ฉันเป็นคนขี้กลัว” เธอจึงเปลี่ยนมาวิ่งแทน แต่ในความเข้มข้นที่ยังน้อยอยู่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพ่อแม่ของ
การวิ่งที่ยากที่สุดของ
กำแพงเบอร์ลินสร้างขึ้นในปี
เมื่อมีอิสรภาพจากสมาพันธ์การกีฬาของเยอรมันตะวันออก
การวิ่งของ
การสร้างการกีฬา (Making Sport)
Pippig Pippig
ชมรมท้องถิ่นเล็กๆ
กีฬาเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น
ระบบดังกล่าวใช้ได้ดี
เด็กๆ
เขาอาจบอกว่า
ดูแปลกสักหน่อยที่